วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

แนวโน้มของรูปแบบการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

1. โครงสร้างองค์กรหมายถึง

          โครงสร้างองค์กร หมายถึง การจัดระบบในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้โดยการจัดสรรทรัพยากร การแบ่งหน้าที่ในแต่ละฝ่าย ซึ่งการจัดเป็นรูปต่างๆ กันเพื่อให้การบริหารงานบรรลุจุดมุ่งหมาย


2. องค์กรแบบมีชีวิต หมายถึง

องค์กรแบบสิ่งมีชีวิต (Organic Organization) ได้แก่

          1. โครงสร้างยืดหยุ่น (Flexible Structure) ไม่ติดยึดกับโครงสร้างที่ตายตัวแบบองค์การ
               แบบเครื่องจักร มีการปรับโครงสร้างให้เข้ากับสภาพแวดล้อมการทำงาน

          2. มีการกระจายอำนาจ (Decentralization) ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

          3. มีการทำงานเป็นทีม(Team Work) ร่วมมือกัน

          4. เน้นผลงานมากกว่ากฎระเบียบ (Performance –Oriented) กฎ ระเบียบ จะกำหนดเท่าที่จำเป็น
              ถือว่าเป็นเพียงเครื่องมือในการทำงาน

          5. การติดต่อสื่อแบบไม่เป็นทางการ (Informal Communication) สมาชิกติดต่อได้ทุกระดับโดยตรง
              ไม่ต้องผ่านโครงสร้างสายการบังคับบัญชา

3. กระบวนการจัดการแบบ 5s Model 

          กระบวนการจัดการองค์กร 5s หมายถึง การจัดระเบียบของการทำงานในลักษณะขององค์กรสมัยใหม่ที่มีความยืดหยุ่นในการทางานมากขึ้น ซึ่งประกอบด้วย Small, Smart, Smile, Simplify, Smooth ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
          เทคนิควิธีการออกแบบองค์การให้เป็นองค์การสมัยใหม่ (5S Model)

1. Small คือ เป็นองค์การขนาดเล็ก แต่เป็นองค์กรที่มีคุณภาพ

2. Smart คือ ดูดี ดูเท่ห์ ดูน่าเชื่อถือ ใช้คาว่าฉลาดเพียบพร้อมด้วยภูมิปัญญา การจะทาให้เท่ห์ต้องมีISOมี
                    การประกันคุณภาพในระบบของ QA และกิจกรรมอื่นเช่น 5 ส. , TQA

3. Smile คือ ยิ้มแย้มแจ่มใส เปี่ยมด้วยน้าใจ ฉะนั้นคนในองค์การจะต้องทำงานอย่างมีความสุข
                   ความสุขมีอยู่ 2 ฝ่าย
     1 ) คนทำงานมีความสุข
     2 ) ลูกค้าผู้รับการบริการ โดยเริ่มที่พนักงานก่อนแล้วออกแบบองค์การให้เป็นองค์การที่มีความสุข
           สนุกในงานที่ทำมีความสุขยิ้มแย้มแจ่มใส ทำงานด้วยใจรัก รักงานอยากจะมาทำงาน

4. Smooth คือ ไม่พูดเรื่องการขัดแย้ง จะพูดเรื่องการผนึกกำลังการทำงานเป็นทีมเพื่อให้ประสบความสำเร็จ

5. Simplify คือ ทำเรื่องสลับซับซ้อนให้เป็นเรื่องง่ายหรือทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ทำเรื่องที่ไม่สะดวก
                       ให้สะอาด ทำเรื่องที่ช้าให้เร็วขึ้น

4. ลักษณะขององค์การแบบเครือข่าย (Network organization) หมายถึง

          องค์การแบบเครือข่าย (Network organization) เป็นผลรวมขององค์การอิสระหลายๆองค์การมาผูกเชื่อมโยงกันที่มารวมตัวกันเพื่อทำงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน หรือความต้องการเดียวกัน

ลักษณะขององค์การแบบเครือข่าย (Network organization)

     1. ความยืดหยุ่น Flexible แต่ละองค์การที่มีความหลากหลายที่มารวมตัวกันบางครั้งมาจากหน่วยงาน
         ภายในองค์การเดียวกันที่มาเชื่อมโยงกัน /มาจากต่างองค์การ

     2. Assemble by brokers อาจมีตัวแทนหรือการoutsource

     3. Team –base ทำงานเป็นทีม

     4. Flat org. โครงสร้างเป็นแบบแนวราบเน้นการเจรจาประสานงานกันมากกว่าโครงสร้างสายการบังคับบัญชา

     5. ใช้ IT มาเชื่อมโยงเพื่อการประสานงานหรือรวมกลุ่มหรือประสานงานเป็นไปโดยอัตโนมัติ

     6. ขอบเขตไม่ชัดเจน

5. แนวโน้มของการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในอนาคต
   
แนวโน้มของการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในอนาคตมีดังนี้
         1. เป็นลักษณะขององค์กรแบบสิ่งมีชีวิต (Organic Organization)
         2. องค์การเสมือนจริง (Virtual Organization)
         3. องค์การแบบเครือข่าย (Network organization)

สรุปกระบวนการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในอนาคต
          1. มีการนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการจัดการและให้บริการมากขึ้น
          2. มีการจัดการแบบองค์กรสมัยใหม่
          3. ให้บริการในรูปแบบ ศูนย์ศึกษาบันเทิง กล่าวคือเป็น แหล่งการเรียนรู้ที่รวบรวมรวมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการที่หลากหลายแบบมาบูรณาการ โดยป็นลักษณะแบบทั่วไปที่เน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชน ซึ่งประกอบด้วย การเรียนรู้ การลงมือปฏิบัติ ด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน ที่พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองและเป็นแหล่งการเรียนรู้นอกห้องเรียน



นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษามี 2 ประเภทคือ

1. ระเบียบกฎหมายที่เป็นข้อกาหนดการปฏิบัติงาน

2. ระเบียบกฎหมายที่เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติมิให้ล่วงละเมิดการกระทาผิด

การนำภาพจากสื่อสิ่งพิมพ์ อินเทอร์เน็ต มาประกอบการผลิตสื่อการสอน ต้องทำอย่างไรจึงจะไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

1.การนำภาพที่ไม่มีลิขสิทธิ์มาประกอบในการผลิตสื่อการสอน ไม่ต้องมีการขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์

2.รูปภาพและภาพถ่ายใช้ได้อย่างน้อย 1 ภาพแต่ไม่เกิน 5 ภาพ ต่อผู้สร้างสรรค์ 1 ราย หรือ ร้อยละ 10
    ของจำนวนภาพของผู้สร้างสรรค์ 1 ราย (แล้วแต่ว่าจำนวนใดน้อยกว่ากัน)

3.ผู้สอนและผู้เรียนดาวน์โหลดภาพจากอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ในการศึกษาได้ในปริมาณเท่ากับ
   อย่างน้อย 1 ภาพแต่ไม่เกิน 5 ภาพ ต่อผู้สร้างสรรค์ 1 ราย หรือ ร้อยละ 10 ของจำนวนภาพของผู้
   สร้างสรรค์ 1 ราย (แล้วแต่ว่าจานวนใดน้อยกว่ากัน)แต่จะอัพโหลดงานนั้นกลับขึ้นบนอินเทอร์เน็ต
   ไม่ได้ หากไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์

การสำเนาโดยการถ่ายเอกสารจากหนังสือทั้งเล่ม เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่ เพราะเหตุใด

            เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์  เพราะ  ขัดต่อการได้รับประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์หนังสือเล่มนั้น




สัญลักษณ์นี้หมายถึง                  เมื่อนำผลงานไปเผยแพร่ ดัดแปลงควรอ้างอิงแหล่งที่มา โดยไม่นำไปใช้เพื่อการค้าและยินยอมให้ผู้อื่นนาเนื้อหาไปใช้ต่อได้ด้วยสัญญาอนุญาตแบบเดียวกันนี้


สัญญาอนุญาตด้านลิขสิทธิ์สากลครีเอทีฟคอมมอนส์Creative Commons


แสดงที่มา (Attribution: by) ต้องแสดงที่มา อ้างอิงถึง 
หรือยอมรับสิทธิของงานดังกล่าวตามรูปแบบที่ผู้สร้างสรรค์หรือผู้อนุญาตกาหนด


ไม่ใช้เพื่อการค้า (Non-commercial: nc) ไม่ใช้งานนี้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า


อนุญาตแบบเดียวกัน (Share Alike: sa) ถ้าหากดัดแปลง เปลี่ยนรูป 
หรือต่อเติมผลงานนี้คุณต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกัน 
หรือแบบที่เหมือนกับหรือที่เข้ากันได้กับสัญญาอนุญาตที่ใช้กับผลงานนี้เท่านั้น



ให้นิสิตหาตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีการใช้สัญลักษณ์ สัญญาอนุญาตด้านลิขสิทธิ์สากลครีเอทีฟคอมมอนส์ มา 2 เว็บไซต์พร้อมอธิบายความหมาย




สงวนสิทธิ์บางประการภายใต้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์
แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.
ท่านสามารถนำเนื้อหาในส่วนบทความไปใช้ แสดง เผยแพร่
โดยต้องอ้างอิงที่มา ห้ามใช้เพื่อการค้าและห้ามดัดแปลง






เว้นแต่ระบุเงื่อนไขไว้เป็นอย่างอื่น เฉพาะงานสร้างสรรค์ของเว็บนี้ อนุญาตให้นำไปใช้ได้ตาม
สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า ๓.๐




การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีดังนี้



คุณลักษณะของผู้จัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้


ผู้จัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ หมายถึง
                         บุคคลที่ทำหน้าที่งานบริหารที่ดูแล ควบคุม สั่งการ แก้ปัญหา ให้งานในระดับปฏิบัติการดำเนินต่อไปให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้นั้น ๆ โดยตำแหน่งผู้จัดการศูนย์ มักเรียกเป็นผู้อำนวยการ หัวหน้า หรืออื่น ๆ ที่สื่อความหมายถึงผู้นำศูนย์ฯนั้น ๆ









คุณลักษณะของผู้จัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีดังนี้
1. ผู้กำหนดทิศทาง (Direction-setter)
            ผู้จัดการศูนย์ฯ จะต้องมีความสามารถในการชี้ทิศทางในการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีไป
บูรณาการในการให้บริการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมาย
ที่กำหนดไว้

 2. ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent)
            ผู้จัดการศูนย์จะต้องเป็นผู้ที่สามารถนำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาและสร้างการยอมรับนวัตกรรมทางเทคโนโลยีไปใช้ในระบบการเรียนการสอน สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างจริงจังสามารถลดการต่อต้านต่อการยอมรับสิ่งใหม่ ๆ ที่จะเข้าไปมีบทบาทในการสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ในระบบการเรียนการสอน

3. โฆษก (Spokesperson)
            ผู้จัดการศูนย์ฯ ต้องมีความสามารถเผยแพร่วิสัยทัศน์ของตนสามารถเจรจาหรือต่อรองกับผู้บริหารระดับต่างๆ หรือต่อองค์กรภายนอกเพื่อสร้างเครือข่ายในการทำงานเพื่อประโยชน์ในการพัฒนางานศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ให้ก้าวหน้าต่อไป

 4. ผู้ฝึกสอน (Coach)
            ผู้จัดการศูนย์ ฯ ต้องมีความสามารถในการสร้างทีมงานขึ้นมาเพื่อนำวิสัยทัศน์ของตนไปสู่การปฏิบัติต้องรู้จักสอนให้คำปรึกษาให้คำแนะนำสร้างความไว้วางใจให้อำนาจแก่ผู้ที่จะร่วมงาน

5. วิทยากร (Trainer)
             ผู้จัดการศูนย์ ฯ ต้องทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ไปยังทีมงาน โดยมุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
เชิงพฤติกรรม ทั้งความรู้ เจตคติ และทักษะในการพัฒนาศูนย์ฯ ให้บรรลุเป้าหมายของศูนย์
ทรัพยากรการเรียนรู้นั้น ๆ





หลักการของผู้นำในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ มีดังนี้
1. ความรอบรู้แห่งตน (Personal mastery)
              ผู้จัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จะต้องพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ในความก้าวหน้าแห่งศาสตร์อยู่เสมอเช่นเดียวกับต้องพัฒนาวิสัยทัศน์ในการสร้างสรรค์วิชาชีพของตนเอง

2. แบบแผนการคิดอ่าน(Mental models)
               ผู้จัดการศูนย์ฯ จะต้องมีทักษะการคิดอย่างใคร่ครวญ (Reflection) เพื่อเป็นการตรวจว่าความคิดใดความเชื่อใดมีผลดีผลเสียต่อการปฏิบัติงานในวิชาชีพซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ดีที่สุด

3. วิสัยทัศน์ร่วม (Shared vision)
               ผู้จัดการศูนย์ฯ ต้องรู้จักการสานวิสัยทัศน์กับบุคคลอื่นๆ ในองค์กรเพื่อที่จะหาจุดร่วมที่ดีที่สุดและเป็นสร้างความเท่าทันในทิศทางที่จะก้าวไปข้างหน้า

4. การเรียนรู้เป็นทีม (Team learning)
               ผู้จัดการศูนย์ฯ ต้องรู้จักการสร้างการเรียนรู้เป็นทีมที่สมาชิกในทีมต้องมีความสามารถในการคิดตีปัญหาหรือประเด็นในกระจ่างอีกทั้งภายในทีมต้องรู้จักประสานกันอย่างดีคิดในสิ่งใหม่และแตกต่างไว้วางใจซึ่งกันและกันสมาชิกทุกคนต้องมีการสร้างระบบการเรียนรู้แบบต่อเนื่องสิ่งเหล่านี้ย่อมนำไปสู่การสร้างสรรค์งานด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. การคิดอย่างเป็นระบบ(System thinking)
                ผู้จัดการศูนย์จะต้องมีวิธีการคิดที่เห็นภาพระบบการศึกษา ระบบการเรียนการสอนรวม
ระบบการให้บริการสื่อไปถึงระบบสังคมโดยรวมเห็นทั้งหมดมีกรอบที่เห็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันมากกว่าที่จะเห็นในเชิงเหตุเชิงผลเห็นแนวโน้มมากว่าที่จะเห็นแค่ฉาบฉวย
เพื่อที่จะสามารถนำมาวางแผนเทคโนโลยีให้แก่ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ



วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประเภท และหลักการจัดหาทรัพยากรการเรียนรู้



1. ข่าวของมหาวิทยาลัยบูรพาในหน้าหนังสือพิมพ์จัดอยู่ใน ประเภทของทรัพยากรการเรียนรู้ใด และมีชื่อเรียกว่าอะไร
ตอบ       ข่าวของมหาวิทยาลัยบูรพาในหน้าหนังสือพิมพ์จัดอยู่ใน สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ตีพิมพ์ และมีชื่อเรียกว่าสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ซึ่งข่าวของมหาวิทยาลัยบูรพาถูกตีพิมพ์ในหน้าหนังสือพิมพ์รายวัน คือ สิ่งพิมพ์ที่กำหนดออกเป็นประจำทุกวัน เพื่อนำเสนอข่าว และเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวใหม่ ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

2. ถ้าต้องการคัดเลือกสื่อวีดิทัศน์มาให้บริการนิสิตจะมีหลักการอย่างไร ในการคัดเลือกสื่อดังกล่าว                                                                                                
ตอบ      
 1. กำหนดเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดเลือกทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละประเภทให้ชัดเจน   
 2. ต้องสัมพันธ์กับหลักสูตรการเรียนการสอนในสถานศึกษานั้น ๆ 
3. เนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ นำเสนอเนื้อหาได้ดีเป็นลำดับขั้นตอน                         
4. เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์
5. สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ไม่ตีพิมพ์ สะดวกในการใช้ ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป 
6. สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ไม่ตีพิมพ์ มีคุณภาพ มีเทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนและ
    เป็นจริง
7. สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ไม่ตีพิมพ์ ราคาไม่แพงเกินไป
8. สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ไม่ตีพิมพ์ ถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน

3. การจัดซื้อทรัพยาการเรียนรู้มีกี่วิธีการ อะไรบ้าง   
ตอบ   มี 4 วิธี ได้แก่  
1. สั่งซื้อโดยตรง: ในประเทศ / ต่างประเทศ 
2. สั่งซื้อผ่านร้าน/ตัวแทนจำหน่าย: ในประเทศ / ต่างประเทศ 
3. เว็บไซต์: ในประเทศ / ต่างประเทศ 
4. จัดซื้อในรูปภาคีร่วมกับศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ


หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 การเขียนรายงานผลการดำเนินงานReporting





การรายงานผลมีความสำคัญอย่างไร ต่อการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

ตอบ 
 
  • การรายงานผลมีความสำคัญต่อการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ เพราะการรายงานผลเป็นส่วนสำคัญในการแสดงข้อมูลอย่างเป็นระบบให้กับผู้บังคับบัญชา หรือสาธารณชนได้รับทราบผลการดำเนินงานของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้นั้นๆ และเป็นการนำเสนอเพื่อปรับปรุงในการดำเนินงานครั้งต่อ ๆ ไป

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 การประสานงาน CO-ORDINATION



 

1. สิ่งสำคัญเบื้องต้นของการประสานงานมีอะไรบ้าง
ตอบ   

  • 1.การจัดวางหน่วยงานที่ง่ายและเหมาะสม (Simplified Organization) คือ  ในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้การจัดวางหน่วยงานควรคำนึงถึง

ก. การแบ่งแผนกซึ่งช่วยในการประสานงาน กล่าวคือ การจัดแผนกต่างๆ บางแผนกมีความจำเป็นต้องประสานกันควรอยู่ใกล้ชิดกันเนื่องจากการติดต่ออย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้ที่ทำงานอันเกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิดกันมากขึ้น

ข. การแบ่งตามหน้าที่

ค. การจัดวางรูปงานและระเบียบการที่ชัดแจ้งแก่ทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้อง      
    
  • 2. การมีโครงการและนโยบายอันสอดคล้องกัน (Harmonized Program and Policies
  • 3. การมีวิธีติดต่องานภายในองค์การที่ทำไว้ดี (Well–Designed Methods of Communication) เครื่องมือที่ช่วยในการติดต่อส่งข่าวคราวละเอียด ได้แก่

          ก. แบบฟอร์มในการปฏิบัติงาน (
Working Papers) 

          ข. รายงานเป็นหนังสือ (
Written report)      

          ค. เครื่องมือวิทยาศาสตร์ในการติดต่องาน เช่น ระบบการติดต่อภายใน โรงพิมพ์ เป็นต้น

  • 4. มีเหตุที่ช่วยให้มีการประสานงานโดยสมัครใจ (Aids to Voluntary Coordination) การประสานงานส่วนมากมักจะเกิดขึ้นจากการร่วมมือโดยสมัครใจของบุคลากรในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

  • 5. ประสานงานโดยวิธีควบคุม (Coordination through Supervision) หัวหน้างานมีหน้าที่จะต้องคอยเฝ้าดูการดำเนินปฏิบัติงานต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างสอดคล้องและจะต้องใช้วิธีประเมินผลการปฏิบัติงานทุกระยะจะได้ทราบข้อบกพร่องหาทางแก้ไขให้การปฏิบัติงานถูกต้องยิ่งขึ้น


2. เทคนิคการประสานงาน (Techniques Coordination) มีอะไรบ้าง
ตอบ    1. จัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารทั้งภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงานอย่าง
             มีประสิทธิภาพ 

2. การกำหนดอำนาจหน้าที่และตำแหน่งงานอย่างชัดเจน 

3. การสั่งการและการมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ   

4. การใช้คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ประสานงานโดยเฉพาะการประสานงาน
             ภายในองค์การ

5. การจัดให้มีการประสานงานระหว่างพนักงานในองค์การ 

6. การจัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา 

7. การติดตามผล

3. จงอธิบายอุปสรรคของการประสานงาน มาพอเข้าใจ
ตอบ    1. การขาดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกันจะกลายเป็นสาเหตุทำให้การ
             ติดต่อประสานงานที่ควรดำเนินไปด้วยดี ไม่สามารถกระทำได้    
         
          2. การขาดผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารที่มีความสามารถ                                                       

          3. การปฏิบัติงานไม่มีแผน ซึ่งเป็นการยากที่จะให้บุคคลอื่น ๆ ทราบวัตถุประสงค์และ
              วิธีการในการทำงาน

        
         
4. การก้าวก่ายหน้าที่การงาน

        
         
5. การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดีย่อมทำให้การทำงานเป็นระบบที่ดีของความร่วมมือขาด
              ความเข้าใจซึ่งกันและกัน

        
         
6. การขาดการนิเทศงานที่ดี  

          7. ความแตกต่างกันในสภาพและสิ่งแวดล้อม

          8. การดำเนินนโยบายต่างกันเป็นอุปสรรคต่อการประสานงาน

          9. ประสิทธิภาพของหน่วยงานต่างกันจะเป็นการยากที่จะก่อให้เกิดมีความร่วมมือและ
              ประสานงานกันเพราะแสดงว่ามีฝีมือคนละชั้น      

        
10 .การทำหน้าที่ความรับผิดชอบและอำนาจไม่ชัดแจ้งทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความกังวล
               ใจและอาจไปก้าวก่ายงานของบุคคลอื่นก็ได้      
    
        
11. ระยะทางติดต่อห่างไกลกัน                     
                 
                                        

         12 .เทคนิคและวิธีการปฏิบัติงานในแต่ละหน่วยงานแตกต่างกันเนื่องมาจากการกุมอำนาจ
               หรือการกระจายอำนาจมากเกินไป